บัตร Travel Card 2024 เทียบชัดๆ เที่ยวต่างประเทศ ใบไหนคุ้ม ใบไหนดี
แลกเงินไปเท่าไรดี? นี่มักเป็นคำถามยอดฮิตเสมอไม่ว่าเพื่อนๆ จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศแล้วกี่ครั้ง และบอกเลยว่าเป็นคำถามที่ตอบยากมาก เพราะพฤติกรรมการใช้เงินของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน แถมบางทีเราก็ไม่อยากแลกไปเยอะๆ แล้วต้องพกเงินสดเป็นฟ่อน แต่ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไปเมื่อเพื่อนๆ รู้จักกับ บัตร Travel Card 2024
บัตร Travel Card คืออะไร
บัตร Travel Card คือบัตรสำหรับทำธุรกรรมการเงินในต่างประเทศ ที่สามารถใช้จ่ายเงินสกุลต่างประเทศได้เลย เป็นบัตรที่ออกมาตอบโจทย์เพื่อนๆ นักเดินทางทุกคนเพราะนอกจากจะไม่ต้องแลกเงินสดไปเที่ยวเยอะๆ แล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์อีกมากมายให้อีกด้วย
โดยปกติแล้ว บัตร Travel Card 2024 จะมีอยู่ทั้งหมด 2 ประเภท คือ บัตรแบบเติมเงิน ที่ต้องเติมเงินเข้าไปก่อนถึงจะทำธุรกรรมได้ โดยจะสามารถตัดเงินเป็นสกุลต่างประเทศได้เลย หากไม่มีเงินสกุลนั้นๆ ในบัตร และแบบ บัตรเดบิต ที่จะผูกกับบัญชีธนาคารในไทยของเพื่อนๆ โดยทุกธุรกรรมจะเป็นการตัดเงินจากในบัญชีโดยตรง
ทำไมต้องใช้ บัตร Travel Card
ข้อดีของการใช้บัตร Travel Card มีดังนี้
- ใช้จ่ายสะดวก ไม่ต้องพกเงินสด
- สามารถแลกเงินเมื่อไรก็ได้ผ่านแอป
- สามารถใช้ถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ในต่างประเทศได้ ในกรณีต้องการเงินสด
- สามารถรูดจ่ายสกุลเงินต่างประเทศโดยไม่เสียค่าความเสี่ยง 2.5%
- มีสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ประกันการเดินทาง สิทธิ์การใช้บริการ lounge สนามบิน และอีกเพียบ
บัตร Travel Card 2024 มีธนาคารไหนบ้าง ใช้ของธนาคารไหนดี
ในปัจจุบัน บัตร Travel Card 2024 มีให้เลือกทั้งหมด 7 แบบจาก 6 ธนาคารให้บริการ โดยที่แต่ละบัตรก็จะมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่เหมือนกัน เช่น สกุลเงินต่างประเทศที่ครอบคลุม วงเงินกดเงินสด วงเงินการใช้จ่าย บริการประกันภัยต่างๆ และอีกมากมาย โดยที่วันนี้ทาง Girlfriend Go Go ได้รวบรวมรายละเอียดต่างๆ มาให้แล้วด้านล่าง!
1. YouTrip จาก ธนาคารกสิกรไทย
บัตร Travel Card ยอดฮิตจากธนาคารกสิกรไทย ที่มาในรูปแบบการเติมเงินและแลกเงินผ่านแอป มีความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน แถมวันไหนเงินอ่อนค่าก็สามารถแลกเก็บไว้ในแอปก่อนได้
สิทธิประโยชน์ของ บัตร YouTrip
- ใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้กว่า 150 สกุลเงินทั่วโลก
- สามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศมาเก็บไว้ใช้ล่วงหน้าได้ 10 สกุลเงิน (THB, JPY, HKD, SGD, AUD, EUR, GBP, CHF, USD, CAD)
- ไม่มีชาร์จเพิ่มค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%
- สามารถใช้กดเงินสดจากตู้ ATM ต่างประเทศ และรูดใช้จ่ายได้ทุกร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ บัตร Mastercard
- วงเงินใช้จ่ายสูงสุด 500,000 บาท ต่อวัน
- วงเงินกดเงินสุดจากตู้ ATM ในต่างประเทศ 50,000 บาท ต่อเดือน
ค่าสมัครบัตร และ ค่าธรรมเนียม
- ฟรีค่าแรกเข้า 150 บาท เมื่อสมัครภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2567
- ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท เมื่อสมัครภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2567
- ค่าออกบัตรใหม่ ในกรณีสูญหายหรือทำใหม่ 150 บาท
- ฟรีค่าธรรมเนียมกดเงินตู้ ATM ต่างประเทศ ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567
ช่องทางสมัคร บัตร YouTrip
หากเพื่อนๆ มีแอป K Plus อยู่แล้ว สามารถกดดาวน์โหลดแอป YouTrip มาทำการสมัครผ่านแอปได้เลย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.you.co/th/
2. Journey Card จาก ธนาคารกสิกรไทย
อีกหนึ่งบัตร Travel Card จากธนาคารกสิกรไทย บัตรใบนี้แตกต่างจาก YouTrip ตรงที่เป็นบัตรเดบิต (Debit) ที่ต้องผูกกับบัญชีเงินฝาก โดยการใช้จ่ายต่างๆ จะถูกตัดจากบัญชีที่ผูกไว้เลย สามารถใช้ถอดเงินสด แต่ไม่สามารถแลกเงินเก็บล่วงหน้าได้
สิทธิประโยชน์ของ บัตร Journey Card
- ใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ด้วยเรทพิเศษ
- ไม่มีชาร์จเพิ่มค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%
- วงเงินใช้จ่ายสูงสุด 500,000 บาท ต่อวัน
- วงเงินกดเงินสดจากตู้ ATM ในต่างประเทศ 200,000 บาท ต่อวัน
- ใช้เติมเงินมือถือได้ทุกระบบผ่านตู้ ATM
- สามารถเข้าใช้งาน Miracle Lounge ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ทั้งหมด 1 ครั้ง ต่อปี
- มีประกันเดินทางต่างประเทศนาน 10 วัน คุ้มครองสูงสุด 2 ล้านบาท จาก Chubb (สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://www.chubb.com/th-th/visa.html)
ค่าสมัครบัตร และ ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 700 บาท
- ค่าธรรมเนียมรายปี 550 บาท (ฟรีปีแรก)
- ค่าออกบัตรใหม่ ในกรณีสูญหายหรือทำใหม่ 550 บาท
ช่องทางสมัคร บัตร Journey Card
หากเพื่อนๆ มีแอป K Plus อยู่แล้ว สามารถทำการสมัครผ่านแอปได้เลย
หรือเพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของบัตร Journey ได้ที่: https://www.kasikornbank.com/th/personal/debit-card/pages/journey.aspx
3. SCB Planet จาก ธนาคารไทยพาณิชย์
บัตร Travel Card ยอดนิยมอีกใบ คราวนี้เป็นคิวของ บัตร SCB Planet จาก ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีจุดเด่นในการใช้งานผ่านแอป SCB Easy แถมยังสามารถใช้รูดจ่าย ใช้กดเงินสด ผ่านสกุลเงินต่างประเทศได้แบบไม่มีค่าธรรมเนียมอีกด้วย
สิทธิประโยชน์ของ บัตร SCB Planet
- ใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ด้วยเรทพิเศษ
- แลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษเทียบเท่าร้านแลกเงินชั้นนำ มากถึง 13 สกุลเงิน (USD, EUR, GBP, JPY, AUD, CHF, SGD, HKD, NZD, CAD, CNY, KRW และ TWD)
- ไม่มีชาร์จเพิ่มค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%
- สามารถใช้กดเงินสดจากตู้ ATM ต่างประเทศ และรูดใช้จ่ายได้ทุกร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ บัตร Visa
- วงเงินใช้จ่ายสูงสุด 500,000 บาท ต่อวัน
- วงเงินกดเงินสุดจากตู้ ATM ในต่างประเทศ 100,000 บาท ต่อเดือน (มีค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อครั้ง)
- มีประกันเดินทางต่างประเทศนาน 10 วัน คุ้มครองสูงสุด 2 ล้านบาท จาก Chubb (สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://www.chubb.com/th-th/visa.html)
ค่าสมัครบัตร และ ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 200 บาท
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- ค่าธรรมเนียมออกบัตรใหม่ 200 บาท
- ฟรีค่าธรรมเนียมออกบัตรทดแทน กรณีสูญหาย ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567
ช่องทางสมัคร บัตร SCB Planet
หากเพื่อนๆ มีแอป SCB Easy อยู่แล้ว สามารถทำการสมัครผ่านแอปได้เลย
หรือเพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของบัตร SCB Planet ได้ที่: https://www.scb.co.th/th/personal-banking/cards/prepaid-cards/planet-scb-card.html
4. Krungthai Travel Card จาก ธนาคารกรุงไทย
บัตร Travel Card จากธนาคารกรุงไทย มาในสโลแกน “บัตรเดียว คุ้มค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยน สะดวก ปลอดภัย ฟรีค่าธรรมเนียม และประกันการเดินทาง” ที่เน้นการใช้งานง่ายพร้อมให้สิทธิประโยชน์กับเพื่อนๆ นักเดินทางทุกคน
สิทธิประโยชน์ของ บัตร Krungthai Travel Card
- ใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ด้วยเรทพิเศษ
- แลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษพิเศษ มากถึง 19 สกุลเงิน (AUD, CAD, CHF, DKK, EUR, GBP, HKD, INR, JPY, KRW, MYR , NOK, NZD, RUB, SEK, SGD, TWD, USD และ THB)
- ไม่มีชาร์จเพิ่มค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%
- วงเงินใช้จ่ายสูงสุด 750,000 บาท ต่อวัน
- วงเงินกดเงินสดจากตู้ ATM ในต่างประเทศ 100,000 บาท ต่อวัน
- วงเงินกดเงินสดสกุลต่างประเทศ ที่สาขาในประเทศไทยที่กำหนด ครั้งละ 25,000 บาท ไม่เกิน 2 รายการต่อวัน
- มีประกันเดินทางทั้งในและต่างประเทศ สูงสุด 6,000,000 บาท (ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด)
ค่าสมัครบัตร และ ค่าธรรมเนียม
- ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 150 บาท ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568
- ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี 450 บาท ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568
- ค่าธรรมเนียมออกบัตรใหม่ หรือออกบัตรทดแทน กรณีสูญหาย 150 บาท
- ค่าธรรมเนียมรายปี เฉพาะบัตร Krungthai Travel Platinum Card 450 บาท
ช่องทางสมัคร บัตร Krungthai Travel Card
หากเพื่อนๆ มีแอป Krungthai Next อยู่แล้ว สามารถทำการสมัครผ่านแอปได้เลย
หรือเพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของบัตร Krungthai Travel Card ได้ที่: https://krungthai.com/th/content/personal/cards/krungthai-travel-card
5. TTB All Free จาก ธนาคารทหารไทยธนชาต
บัตร TTB All Free คือบัตร Travel Card จาก ธนาคารทหารไทยธนชาต ที่มีให้บริการทั้งแบบ บัตรเดบิต แบบบัตรแข็ง และ บัตรดิจิตัล (ไม่มีบัตรแข็ง) มีจุดเด่นเรื่องของการเป็น บัญชีเดียว รูดจ่ายโดยการตัดผ่านบัญชีที่ผูกไว้ได้เลย และยังมีสิทธิประโยชน์ทั้งการใช้บัตรในประเทศและนอกประเทศ
สิทธิประโยชน์ของ บัตร TTB All Free
- ไม่มีชาร์จเพิ่มค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%
- ไม่มีชาร์จเพิ่มค่า DDC 1%
- วงเงินใช้จ่ายสูงสุด 2,000,000 บาท ต่อวัน สำหรับบัตรมีชื่อ
- วงเงินใช้จ่ายสูงสุด 500,000 บาท ต่อวัน สำหรับบัตรไม่มีชื่อ
- วงเงินกดเงินสดจากตู้ ATM ในต่างประเทศ 200,000 บาท ต่อวัน (มีค่าธรรมเนียม 75 บาท ต่อครั้ง)
- มีประกันเดินทางต่างประเทศนาน 10 วัน คุ้มครองสูงสุด 1 ล้านบาท
ค่าสมัครบัตร และ ค่าธรรมเนียม
- ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 200 บาท (ไม่เกิน 5 ใบ ต่อปี)
- ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี 250 บาท
- ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี สำหรับบัตร TTB All Free Digital
ช่องทางสมัคร บัตร TTB All Free
หากเพื่อนๆ มีแอป TTB Touch อยู่แล้ว เพื่อนๆ สามารถเปิดบัญชีผ่านแอปได้เลย
หรือเพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของบัตร TTB All Free ได้ที่: https://www.ttbbank.com/th/personal/deposits/transactional-account/ttb-all-free
6. Krungsri Boarding Card จาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Krungsri Boarding Card คือ Travel Card จาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีจุดเด่นในการใช้จ่ายเงินสกุลต่างประเทศ แลกเงินมาเก็บล่วงหน้าได้ และมาพร้อมความสะดวกที่สามารถจัดการทุกอย่างผ่านแอปได้เลย
สิทธิประโยชน์ของ บัตร Krungsri Boarding Card
- สามารถใช้จ่ายและแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศมาเก็บไว้ใช้ล่วงหน้าได้ 17 สกุลเงิน (JPY, KRW, HKD, SGD, USD, EUR, AUD, CAD, CHF, CNY, DKK, GBP, NOK, NZD, SEK, TWD และ THB)
- ไม่มีชาร์จเพิ่มค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%
- สามารถใช้กดเงินสดจากตู้ ATM ต่างประเทศ และรูดใช้จ่ายได้ทุกร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ บัตร Visa
- วงเงินใช้จ่ายสูงสุด 500,000 บาท ต่อวัน
- วงเงินกดเงินสุดจากตู้ ATM ในต่างประเทศ 100,000 บาท ต่อวัน
ค่าสมัครบัตร และ ค่าธรรมเนียม
- ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 150 บาท ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567
- ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี
ช่องทางสมัคร บัตร Krungsri Boarding Card
สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่มีบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพื่อนๆ ต้องทำการเปิดบัญชีก่อน โดยสามารถทำผ่านสาขาหรือแอปก็ได้ จากนั้นสามารถสมัครบัตร Krungsri Boarding Card ผ่านแอปได้เลย
หรือเพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของบัตร Krungsri Boarding Card ได้ที่: https://www.krungsri.com/th/personal/card/krungsri-boarding-card
7. Citibank Global Wallet จาก ธนาคารซิตี้แบงก์
สำหรับ Citibank Global Wallet จะไม่ได้มาในรูปแบบบัตร Travel Card เหมือนเจ้าอื่นๆ แต่จะเป็นการใช้ บัตรซิตี้แบงก์ เดบิต มาสเตอร์การ์ด ในการกดเงินสดออกมาเป็นสกุลเงินต่างประเทศผ่าน Citibank Global Wallet ในแอป Citi Mobile App นั่นเอง
สิทธิประโยชน์ของ Citibank Global Wallet
- สามารถใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศมาได้ 9 สกุลเงิน (USD, EUR, AUD, GBP, CHF, JPY, HKD, SGD และ THB)
- ไม่มีชาร์จเพิ่มค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%
- สามารถใช้กดเงินสดจากตู้ ATM ต่างประเทศที่มีสัญลักษณ์ บัตร Mastercard
- วงเงินใช้จ่ายสูงสุด 300,000 บาท ต่อวัน
- วงเงินกดเงินสุดจากตู้ ATM ในต่างประเทศ 200,000 บาท ต่อวัน
ค่าสมัครบัตร และ ค่าธรรมเนียม
- ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า
- ค่าธรรมเนียมรายปี 300 บาท
ช่องทางสมัคร Citibank Global Wallet
เพื่อนๆ ต้องทำการเปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารซิตี้แบงก์ก่อนถึงจะใช้งาน Citibank Global Wallet ได้
หรือเพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ Citibank Global Walletได้ที่: https://www.citibank.co.th/citibank-global-wallet
บัตร Travel Card กับ Credit Card (เครดิตการ์ด) ต่างกันยังไง
บัตรเครดิต จะเป็นการ ยืมก่อนจ่ายทีหลัง โดยที่เราจะมีวงเงินว่าในแต่ละเดือนเราสามารถยืมเงินจากธนาคารมาซื้อของและใช้จ่ายก่อนได้เท่าไร และเมื่อครบกำหนดเราก็ต้องจ่ายเงินคืนให้กับธนาคารตามจำนวนที่เรายืมมา
ในส่วนของ Travel Card จะเป็นการเติมเงินเข้าไปในบัตรเหล่านี้ และสามารถที่จะทำการแลกเงินบาทในบัตรเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เพื่อทำการใช้จ่ายในต่างประเทศได้ หากเงินในบัตรไม่พอก็ไม่สามารถจ่ายได้
บัตร Travel Card กับ Debit Card (เดบิตการ์ด) ต่างกันยังไง
บัตรเดบิต เมื่อใช้จ่ายจะเป็นการตัดทันทีกับบัญชีที่เราผูกเอาไว้ โดยสามารถใช้จ่ายได้เรื่อยๆ หากยังไม่เกินวงเงินที่กำหนด หรือยังมีเงินอยู่ในบัญชีที่ผูกไว้
ส่วนบัตร Travel Card ส่วนใหญ่จะไม่ได้เป็นการผูกไว้กับบัญชี แต่ต้องเติมเงินเข้าไปก่อนถึงจะสามารถใช้จ่ายได้ ในปัจจุบันก็มีบัตรเดบิตบางใบที่ให้บริการเป็น Travel Card เช่นกัน ก็คือจะทำการนำเงินสกุลต่างประเทศที่ต้องจ่ายแปลงเป็นเงินบาทแล้วตัดจากทางบัญชีเลย
Leave a Reply